เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 9. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายใส่ความภิกษุชื่อนี้ ด้วย
สีลวิบัติที่ไม่มีมูล เธอถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์
พร้อมกันแล้วพึงให้สติวินัยแก่ภิกษุชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายใส่ความภิกษุชื่อนี้ ด้วย
สีลวิบัติที่ไม่มีมูล เธอถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์ สงฆ์ให้
สติวินัยแก่ภิกษุชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้
สติวินัยแก่ภิกษุชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่
เห็นด้วย ท่าน รูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
สติวินัยอันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว สงฆ์เห็นด้วย
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว
อธิกรณ์ระงับด้วยอะไร
ด้วยสัมมุขาวินัยกับสติวินัย
ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง
มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความ
พร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ
อนึ่ง ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร
โจทก์และจำเลยทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าบุคคลใน
สัมมุขาวินัยนั้น
ในสติวินัยนั้นมีอะไรบ้าง
มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่
คัดค้านกรรม คือสติวินัยอันใด นี้มีในสติวินัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :357 }


พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 9. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน

อมูฬหวินัย
[237] บางทีอนุวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะ 2 อย่าง คือ (1) สติวินัย
(2) ตัสสปาปิยสิกา แต่พึงระงับด้วยสมถะ 2 อย่าง คือ (1) สัมมุขาวินัย
(2) อมูฬหวินัย
บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณ
มากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทด้วย
อาบัติที่ผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดแล้วว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว
จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มี
จิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าว
ด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว”
ภิกษุทั้งหลายแม้ภิกษุนั้นกล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทภิกษุนั้นอยู่ตามเดิมว่า “ท่าน
ต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้”

คำขออมูฬหวินัย และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น ผู้หายหลงแล้ว ก็แล สงฆ์
พึงให้อมูฬวินัยอย่างนี้
ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ฯลฯ แล้วกล่าวคำขอว่า
ท่านผู้เจริญ กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควร
แก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุ
ทั้งหลายโจทกระผม ด้วยอาบัติที่กระผมผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิด
แล้วว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” กระผมผู้กล่าวกับภิกษุ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :358 }